วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน

.......ด้านสื่อการเรียนการสอน ได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายไวหลากหลาย ตัวอย่างเช่น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูหรือผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นต้น ส่วนประเภทของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล ได้จำแนกตามประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม ไปสู่นามธรรม ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น คือ
...........-วจนสัญลักษณ์
...........-ทัศนสัญลักษณ์
...........-ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ
...........-ภาพยนตร์
...........-โทรทัศนศึกษา
...........-นิทรรศการ
...........-การศึกษานอกสถานที่
...........-การสาธิต
...........-ประสบการณ์นาฎการ
...........-ประสบการณ์จำลอง ประสบการณ์ตรงและมีความหมาย

........1.1
ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน
...........ความหมาย
...........สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุ สิ่งของที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีการและกิจกรรมการสอนรูปแบบ
ต่าง ๆ
........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
..........คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน


................1.2.1 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ


................1.2.2 ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้มากขึ้น และใช้เวลาน้อยลง


................1.2.3 ช่วยให้ผู้เรียน มีความสนใจในการเรียน และมีส่วนร่วมในการเรียนอย่าง กระฉับ กระเฉง


................1.2.4 ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ มั่นใจ และจดจำได้นาน


................1.2.5 ช่วยให้เอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ได้ เช่น
......................- ทำสิ่งที่ซ้ำได้ง่ายขึ้น
......................- ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรมมากขึ้น
......................- ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
......................- ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้ดูเร็วขึ้น
......................- ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กลงเหมาะแก่การศึกษา
......................- ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
......................- นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มาศึกษาในปัจจุบันได้
......................- นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้
ประเภทสื่อการเรียนการสอน
..........สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ
...............1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัว หนังสือที่เป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
...............2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
...............3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่
......................3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น
......................3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
......................3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรม หรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น
.....................3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น

........1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน

...........หลักการเลือกสื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา เช่น
.................1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
.................2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุดช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
.................3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
.................4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
.................5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
.................6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองต้องคุ้มกับเวลาและการลงทุน
..........นอกจากนี้แล้วการจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
.................1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
.................2. จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ เช่น
........................- ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
........................- ใช้นำเข้าสู่บทเรียน
........................- ใช้ในการประกอบคำอธิบาย
........................- ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียนหรือ
........................- ใช้เพื่อสรุปบทเรียน
.................3. ต้องเข้าใจลักษณะของเฉพาะของสื่อแต่ละชนิดว่าสามารถเร้าความสนใจ และให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น
........................- หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง
........................- ของจริงและของจำลอง ใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
........................- แผนภูมิ แผนภาพและแผนสถิติ ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล
........................- สไลด์ ใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้
.................4. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา


หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
............จิตวิทยากับธรรมชาติ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้

........2.1 จิตวิทยาการรับรู้

............การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้

...........จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียน

........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ

...........จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental )เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

หน่วยที่ 3 การสื่อสาร

.............การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส

........3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

.............หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี อาจเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าอินเตอร์เน็ตก็ได้
........องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
..............1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
..............2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
..............3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (dia)
..............4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
..............5. ความเข้าใจและการตอบสนอง


........3.2 รูปแบบของการสื่อสาร

...........การสื่อสารทางเดียว (Oneway Communication) เป็นการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองทันทีกับผู้ส่งการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ทันทีโดยที่ผู้ส่งหรือผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจจะอยู่คนละ

........3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร

...........การสื่อสารโดยทั่วไปจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือผู้ส่งหรือผู้สื่อ เนื้อหา เรื่องราว และกระบวนการสื่อสาร ผู้รับความมุ่งหมายของการสื่อสารคือ การที่ผู้รับยอมรับสารที่ผู้ส่ง ส่งไปยังผู้รับ ถ้าผู้รับเข้าใจความหมายของสาร ที่ผู้ส่งขอให้ผู้รับปฏิบัติ แต่ผู้รับไม่ปฏิบัติตาม ความสำเร็จตามความมุ่งหมายของการสื่อสารนั้นก็ไม่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้รับตอบสนองต่อสารที่ผู้ส่งส่งไปยังผู้รับ และปฏิบัติตามความเหมาะสม ความมุ่งหมาย ของการสื่อสารนั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็ว

........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน

............รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า S.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี

หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน

หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก

........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก

...........การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

...........ประเภทของสื่อกราฟิก
.................1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
.................2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
.................3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น


........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน

..........การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน จุดประสงค์ของการเรียนรู้
.................1.เพื่อให้รู้ถึงความหมายของสีและการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
.................2.เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
.................3.เพื่ีอให้รู้ถึงแนวทางในการเลือกใช้ในการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
.................4.เพื่อให้รู้ถึงหลักการพิจารณาในการเลือกใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์

........5.3 การเขียนภาพการ์ตูน

.............การเขียนภาพการ์ตูนสำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียน

........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง

....การประดิษฐ์ตัวอักษร
........การผลิตสื่อจะขาดเสียมิได้เลยคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ไม่ว่าจะใช้ประกอบในการจัดทำบัตรคำ ป้ายนิเทศ ป้ายโฆษณา การเขียนเพื่อประกอบเป็นคำบรรยายต่างๆ ถือได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับครูธุรกิจ การประดิษฐ์ตัวอักษรอย่างเหมาะสมจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทั้งนี้ตัวอักษรที่ประดิษฐ์ต้องมีขนาดพอเหมาะกับระยะในการเรียนรู้ ชัดเจน อ่านง่าย
หลักในการประดิษฐ์ตัวอักษร
................1. การเลือกแบบ หรือลักษณะของตัวอักษรที่จะเขียน หัวเรื่อง หรือใจความสำคัญควรจะมีการเน้นรูปแบบ ขนาดที่แตกต่างจากข้อความธรรมดา
................2. ขนาดของตัวอักษร ควรสัมพันธ์กับระยะความห่างจากตัวอักษร เช่น ผู้อ่านอยู่ห่าง 4.8 เมตร ตัวอักษรควรจะมีขนาด 1.2 เซนติเมตร
................3. ช่องไฟ ต้องคำนึงถึงช่องไฟ เพื่อความสวยงาม ดูเป็นระเบียบ อาจใช้การประมาณด้วยสายตา หรือถือหลักช่องไฟระหว่างตัวอักษรเป็น 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ส่วนของตัวอักษร ทั้งนี้ก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวอักษร ควรนับจำนวนตัวอักษรเสียก่อน จากนั้นก็หาจุดศูนย์กลาง แล้วจึงลงมือร่างแบบ
.........การประดิษฐ์ตัวอักษรแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
.................1. การประดิษฐ์อักษรด้วยมือ เช่น ปากกา ดินสอน ปากกาสปีดบอล พู่กัน ชอล์ก ปากกาเมจิ เป็นต้น
.................2. การประดิษฐ์อักษรด้วยเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ ตัวอักษรแบบฉลุ ตัวอักษรแบบฝน เป็นต้น


หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา

..........แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง

........6.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา

............หมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย

........6.2 หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา

............ตัวอย่างการเลือกสื่อการสอนที่พบเห็นได้เสมอ เช่นครูสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับจำนวน การบวก การลบ และต้องการวัสดุเป็นชิ้น ๆ ก้อน ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือนับจำนวน แทนที่ครูจะนึกถึงก้อนดิน หิน หรือวัสดุอื่นอีกมาก ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่น มาให้นักเรียนนับ แต่ครูกลับนึกถึงก้อนแม่เหล็กเป็นอันดับแรก และพยายามเรียกร้องให้มีการจัดซื้อกระดานแม่เหล็กมาใช้สอนนับจำนวน กรณีเช่นนี้เราได้นับจำนวนก้อนหินดูจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการนับชิ้นส่วนบนกระดานแม่เหล็กเสียอีก ถ้าก้อนหินหาได้ง่ายนักเรียนทุกคนสามารถหามาได้ง่าย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็ม

........6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ

........6.4 การประมินสื่อการสอนราคาเยา

............การประเมินสื่อการสอนการประเมินการใช้สื่อการสอนมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
...................1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ
...................2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ
...................3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้

หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
............การผลิตสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ

........7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

............CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

........7.2 การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน

............การจัดตั้งสมาคม APEC เพื่อการศึุกษาทางอินเตอร์เนตตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรู้้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ เราขาดไม่ได้ สถาบันการศึกษาและครูมีบทบาทมากขึ้นเพราะต้องเตรียมการเรียนการสอนเพื่อส่งนักเรียนให้เข้าทำงาน ในสังคมใหม่ สมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตจัดทำไว้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของนักเรียน และครูเมื่อต้นปี 2001 มูลนิธิการศึกษา APEC รับเสนอโครงการทำกิจกการที่จะทำให้ลดความต่างระดับการศึกษา เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและดิจิตอล ทั้งนี้เพื่อมูลนิธิการศึกษา APEC จะสนับสนุนทางด้านงบประมาณให้ ทั้งหมด 79 สถาบันเสนอโคงการมา และในที่สุด 4 สถาบันได้รับการคัดเลือกเป็นสถาบันที่จะได้รับงบประมาณมูลค่า 60 ล้านดอลล่า สหรัฐ แต่เนื่องจากโครงการของสถาบันดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันมากมูลนิธิการศึกษา APEC จึงเสนอให้สถาบัน ดังกล่าวจัดเป็นสมาคม (consortium) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำกิจการ



หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

............การพิมพ์ เป็นการสำเนาหรือจำลองต้นฉบับลงบนวัตถุที่มีพื้นผิวเรียบหรือค่อยข้างขรุขระเพียงเล็กน้อย อาจจะแบนรายหรือโค้งนูน ให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดโดยคำนึงถึงปริมาณในการผลิตจำนวนมาก สิ่งที่นำมาสำเนาอาจเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ สัญลักษณ์ต่าง ๆ วัตถุที่นำมารองรับอาจเป็นวัตถุผิวเรียบ เช่นกระดาษแผ่นไม้กระดานหรืออาจมีประเภทผิวโค้ง นูนหรือขรุขระก็ได้

........8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์


............หมายถึง วัสดุตีพิมพ์(Printed Materials) เป็นวัสดุที่พิมพ์ด้วยกระดาษหรือวัสดุแผ่นเรียบ มีหลายรูปแบบ เช่น หนังสือวารสาร นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์แผ่นพับ แผ่นปลิว เป็นต้น

...................คุณค่าของสื่อสิ่งพิมพ์
.........................1. ใช้ประกอบคำบรรยายในการสอน
.........................2. ช่วยเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาในรูปแบบเดียวกัน
.........................3. ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ
.........................4. เป็นสื่อพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน
.........................5. ใช้เป็นสื่อเพื่อการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์

........8.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

......สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

..............- หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง

..............- หนังสือบันเทิงคดี เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

...............- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน

...............- วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน

...............- จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ

...............- สิ่งพิมพ์โฆษณา

.............. -โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่มจำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า

..............- ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย

..............- แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้นเป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ

.............- ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ

.............- สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
........8.3 ระบบการพิมพ์


........8.4 การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน



*-* *-* สิริวิมล รายงาน *-* *-*

ไม่มีความคิดเห็น:

เพื่อนกัน คอมพิวเตอร์ศึกษา 48 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง