วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เรื่องน่ารู้ ที่ไกล้ตัว ที่ควรรู้

เคล็ด 7 ข้อบำเรอผิวคุณลืมหรือยัง
1. เติมความสวยด้วยการดื่มน้ำ
2.ครีมทาผิว
3.การถนอมผิวรอบดวงตา
4.เซ่รุ่มขจัดริ้วรอย
5.บำรุงผิวด้วยน้ำมัน
6.เติมความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยสเปรย์
7. มาส์กหน้าบำรุงผิว
อาบน้ำทะเล เพื่อผิวสดใสเปล่งประกาย
1. เกลือ ทำให้ผิวคงความชุ่มชื้น ดังการใช้เกลือทะเล เพื่อความงาม จึงมีผลทำให้ ผิวอ่อนนุ่นสดใสและเปล่งปลั่ง และยังช่วยขจัดเซลลืผิวให้หลุดลอกออกไป
2. สาหร่ยทะเล ทำให้โลหิตไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ทำให้มีชีวิตชีวาและเกิดพลังงานใหม่ๆ
3. โคลนทะเล ทำให้ผิวกระตุ้นให้ระบบน้ำเหลืองและการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และทำให้เนื้อ เยื้อแต่งตึง
ใส่ใจความเนียมนุ่นให้มือและเท้า
1. ดูแลเล็บมือ
2. บำรุงมือให้นุ่นเนียน
3. หัดผิวมือ
4. นวดมือด้วยน้ำมัน
5. ให้มือได้อาบน้ำบ้าง
6. ดูแลฝ่าเท้า
7. ขจัดเซลล์ผิวที่ตายด้าน
สวยโดยไม่ต้องเสี่ยง
1. ผ่อนคลายด้วยน้ำ
2.ด้วยตาสวยหวานกระจ่างใส
3. หอมเย้ายวนใจ
4. การพยุงความสวย
5. ประกายผมเงางาม
6. ผิใหน้าสดใส
7. เล็บสวย
8. เติมความสดชื่น
8 วิธีปลุกความสวยด้วยสายน้ำ
1. ดื่มน้ำ
2. กินน้ำ
3.เติมน้ำสู่ผิว
4. ปลูกผิวด้วยน้ำ
5. อยู่ใกล้น้ำ
6. ฟังเสียงน้ำ
7. แช่น้ำ
8.ลดน้ำหนักด้วยน้ำ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550

กราฟิก

กราฟิก (Graphic)
......กราฟิก คำนี้คงได้ยินกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างมาก หันไปทางไหนก็เจอแต่กราฟิก ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ โลโก้ กระดาษ แผ่นพับ โฆษณา เป็นต้น คำว่ากราฟิกมีที่มาจากคำในภาษากรีก คือ Graphikos ที่แปลว่า "การวาดเขียน และเขียนภาพ" หรือคำว่า "Graphein" ที่แปลว่า "การเขียน" ซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้หลายลักษณะ เช่น


........... - ศิลปะอย่างหนึ่ง ที่แสดงออกด้วยความคิดอ่าน โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียน ไดอะแกรม และอื่นๆ
........... - การสื่อความหมายด้วยการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ ภาพถ่าย และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ และศาสตร์ เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิด และตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อ เช่น แผนภูมิ แผนภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น
.......... - โสตทัศนวัตถุที่ผลิตขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์ หรือความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทำให้คนได้มองเห็นความจริง หรือความคิดอันถูกต้องชัดเจนจากวัสดุกราฟิกนั้นๆ
.......... - การพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ


.....จะเห็นว่ากราฟิก มีความหมายกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม กราฟิกก็คือรูปแบบการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ศิลปะมาเกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสัญลักษณ์ ที่เข้าใจได้ง่าย และตรงกันระหว่างผู้สื่อสาร กับผู้รับสาร


คอมพิวเตอร์กราฟิก

ก็คือ กราฟิกที่นำคอมพิวเตอร์มาดำเนินการ ตั้งแต่การเตรียมการ ออกแบบ นำเสนอ ใช้งาน

.....ดังนั้นงานกราฟิก จึงมีความสำคัญ คือ

.......... 1 เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย
.......... 2 เกิดการเรียนรู้ การศึกษา
.......... 3 เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ
.......... 4 กระตุ้นความคิด
.......... 5 ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
.......... 6 ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด

เที่ยวอุดรธานีเด้อจ้า

ประวัติอุดรธานี
.......ความหมายของตราประจำจังหวัด :ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวร เป็นพญายักษ์ถือกระบองซึ่งเป็นท้าวโลกบาล ผู้คุ้มครองรักษาโลกประจำอยู่ทิศเหนือหรือทิศอุดร จังหวัดอุดรธานีจึงได้ใช้รูปท้าวเวสุวัณเป็นตราประจำจังหวัด โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบเมื่อ พ.ศ.2483

.......ธงประจำจังหวัดอุดรธานี : เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด มีรูปท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นดวงตราประจำจังหวัดอยู่กลางผืนธง
.......ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี คือ ต้นทองกวาวหรือต้นจาน เป็นไม้ยืนต้นผลีดใบสูง 8 - 15 เมตรดอกใหญ่รูปดอกถั่ว สีแสด จะออกดอกในช่วงเดือน มกราคม - มีนาคม

........พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด คือ ต้นรังหรือต้นฮัง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15 - 20 เมตร ใบรูปไขา ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงเดือน มีนาคม - เมษายน
........อุดรธานี ตั้งอยู่บนที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เป็นดินแดน ที่มีอารยธรรมเก่าแก่แห่งหนึ่ง ของโลก จ.อุดรธานีตั้งอยู่บนเส้นรุ้งที่ 17 อาศาเหนือ เส้นแวงที่ 103 องศาตะวันออก อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยห่างจาก กทม. ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ระยะทางประมาณ 562 ก.ม.

....... อุดรธานี ห่างจากกรุงเทพฯ ๕๖๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๑๑,๗๓๐.๓ ตารางกิโลเมตร จ.อุดรธานี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,780.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7.362 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ มากเป็นอันดับ 4 ใน 19 จังหวัด ของภาคอิสาน รองจาก จ.นครราชสีมา,อุบลราชธานีและชัยภูมิ จ.อุดรธานี แบ่งการปกครอง ออกเป็น ๑๘ อำเภอ และ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง อำเภอบ้านผือ อำเภอเพ็ญ อำเภอศรีธาตุ อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ อำเภอกุดจับ อำเภอโนนสะอาด อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง อำเภอสร้างคอม อำเภอทุ่งฝน กิ่งอำเภอนายูง และกิ่งอำเภอพิบูลย์รักษ์

........สภาพภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ของ จ.อุดรธานี ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเล โดยเฉลี่ยประมาณ 187 ฟิต พื้นที่เอียงลาดลงสู่แม่น้ำโขง ทาง จ.หนองคาย ประกอบด้วยทุ่งนา ป่าไม้และภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายปนดินลูกรัง ไม่เก็บน้ำหรืออุ้มน้ำในฤดูแล้ง พื้นที่บางแห่งเป็นดินเค็ม ประกอบกสิกรรมไม่ค่อยได้ผลดี พื้นที่บางส่วนเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีพื้นที่ราบผืนเล็กๆ แทรกอยู่กระจัดกระจาย พื้นที่ทางทิศตะวันตก มีภูเขาและป่าติดต่อกัน เป็นแนวยาว มีเทือกเขาสำคัญคือ เทือกเขาภูพานทอดเป็นแนวยาว ตั้งแต่เขตเหนือสุดไปจน จรดทางใต้สุดเขต จ.อุดรธานี มีลักษณะแบ่ง จ.อุดรธานี ออกเป็นสองส่วน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200-700 เมตร

.........สภาพภูมิอากาศ ภูมิอากาศของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาล้อมรอบทาง ด้านตะวันออกและด้านใต้ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็น อยู่ทางตะวันตก เทือกเขาสันกำแพงและ พนมดงรักอยู่ทางด้านใต้ ทำให้ฝนที่เกิดจากมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้มีน้อย ส่วนมากเป็นฝนที่ เกิดจากพายุดีเปรสชั่น ที่เคลื่อนผ่านเข้ามาในระหว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายน ค่าปานกลางของปริมาณน้ำฝน จ.อุดรธานี ประมาณปีละ 1,400-1,600 มิลลิเมตร สภาพอากาศค่อนข้างรุนแรง โดยจะร้อนจัดในฤดูร้อนและ อากาศหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งในฤดูร้อนเคยมีอุณหภมิ สูงสุดถึง 43.9 องศาเซลเซียส และในช่วนฤดูหนาวเคยมี อุณหภูมิต่ำสุดถึง 2.5 อาศาเซลเซียส ในรอบ 18 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี พ.ศ. 2539 มีอุณหภูมิสูงสุด 39.2 องศาเซลเซียส ในเดือนมีนาคม 2539 อุณหภูมิต่ำสุด 7.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม 2539 ปริมาณน้ำฝนรวมวัดได้ 1,844.8 มิลลิเมตร
อาณาเขตติดต่อ
.......ทิศเหนือ จดจังหวัดหนองคาย

.......ทิศใต้ จดจังหวัดขอนแก่น และกาฬสินธุ์

.......ทิศตะวันออก จดจังหวัดสกลนคร

.......ทิศตะวันตก จดจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลย
แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขต



สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี










อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวง พระพุทธบาทบัวบาน
ประจักษ์ศิลปาคม






................................................................................................ วนอุทยานนายูงน้ำโสม





ศาลเจ้าปู่-ย่า........................................................... เมืองคำชะโนด









วัดป่าบ้านตาด ............................................สวนกล้วยไม้หอม อุดรซันไฌน์






วัดโพธิ์สมภรณ์ วักมัชฌิมาวาส








อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท








พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง








พระพุทธบาทบัวบก................................................................. ถ้ำและ





การพัฒนาสื่อการสอนออนไลน์ โครงการ NLOP
.........โครงการ การเรียนรู้แบบออนไลนแห่ง สวทช. เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) - National Science and Technology Development Agency ( NSTDA) โครงการมีหน้าที่ในการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และให้บริการการเรียนรู้รูปแบบใหม่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนจะเรียนผ่าน Web Browser ซึ่งจะเรียกการเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้ว่า "การเรียนรู้แบบออนไลน" โครงการมีความมุ่งหมายที่จะเป็นผู้นำศูนย์บริการทางการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาสื่อการสอนด้วยการนำคอมพิวเตอร์มาพัฒนาเพื่อใช้ในการผลิตและให้บริการ จึงถือเป็นการเรียนแบบออนไลน อีกทั้งยังได้ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน บุคคลและกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและต้องการนำเอาความรู้ทั้งทางวิชาการ วิชาชีพและอื่นๆที่มีอยู่ มาพัฒนาและเผยแพร่ในระบบการเรียนแบบออนไลน ผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อตอบสนองความต้องการที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของประชาชนโดยทั่วไป การที่โครงการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ ก็เพราะอินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลา
.........ในปัจจุบันมีการให้บริการอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้ประชากรของประเทศสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวาง จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ "โครงการ การเรียนรู้แบบออนไลนแห่ง สวทช." จึงได้เกิดขึ้นเพื่อให้บริการการเรียนรู้ที่เข้าถึงบุคคลทุกกลุ่ม เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และบริหารงานโดย ดร. สุรสิทธิ์ วรรณไกร

อันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
.........เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาในชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลจนถึงองค์กร และระดับชาติ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สิ่งใดก็ตามไม่ใช่มีเฉพาะด้านดีเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีสารสนเทศก็เช่นกัน ย่อมมีผลกระทบต่อมนุษย์และองค์กรในด้านร้ายได้เช่นกัน โดยส่วนมากอันตรายจากไอที มักจะเกี่ยวข้องกับ
..........การขัดขวางการใช้ไอทีในเวลาที่ต้องการใช้งาน
..........การริดรอนระบบสารสนเทศ
..........การสร้าง/ส่งข้อมูลลวง
..........การล้วงข้อมูลมาใช้งาน

.......ซึ่งอันตรายดังกล่าวมีผลกระทบได้ตั้งแต่ระดับเล็ก จนถึงระดับชาติได้ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งจากระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการติดต่อสื่อสาร และบุคคลภายในองค์กรนั้นๆ โดยสามารถสรุปรูปแบบการก่อเหตุให้เกิดอันตรายได้ดังนี้
............ผู้ใช้เถื่อน - ได้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานระบบ แต่อาศัยความสามารถพิเศษทางด้านเทคโนโลยีทำการเจาะระบบป้องกันต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลักลอบล้วงข้อมูล ทั้งที่เป็นความลับและไม่ใช่ความลับ และอาจจะก่อความเสียหายให้กับข้อมูลทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จนถึงการลบข้อมูล และการทำลายระบบ
............ผู้ใช้ภายในระบบ - ได้แก่ผู้ใช้ที่มีสิทธิในระดับ แต่เป็นสายหรือทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง

เกล็ดความรู้

น้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง คือ ผลิตผลของน้ำหวานจากดอกไม้ และจากแหล่งน้ำหวานอื่นๆ ที่ผึ้งนำมาเก็บสะสมไว้ในรังผึ้ง
น้ำผึ้งแท้ที่ได้จากรังผึ้งที่สร้างจากธรรมชาติ จะมีปริมาณน้ำตาล "ฟรักโทส" มากกว่าน้ำตาล "กลูโคส" เล็กน้อย และประกอบด้วย
น้ำ โดยน้ำผึ้งจะประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนประกอบ ไม่เกินร้อยละ 20
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่มากที่สุด คือมีปริมาณร้อยละ 79 ในรูปของน้ำตาลฟรักโทส และกลูโคส โดยมีปริมาณน้ำตาล "ฟรักโทส" มากกว่าน้ำตาล "กลูโคส" เล็กน้อย ทำให้น้ำผึ้งไม่ตกผลึก และมีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ
กรด มีประมาณร้อยละ 0.5 ทำให้น้ำผึ้งมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย โดยกรดที่พบมาก คือ กรดกลูโคนิก
แร่ธาตุ มีประมาณร้อยละ 0.5 ได้แก่ แคลเซียม, แมกนีเซียม, โปตัสเซียม, ฟอสฟอรัส โดยน้ำผึ้งที่มีสีเข้ม จะมีปริมาณแร่ธาตุสูงกว่าน้ำผึ้งที่มีสีอ่อน
วิตามิน เช่น ไรโบเฟลวิน, ไนอะซิน เป็นต้น

เนคไท
.........เนคไท นับว่าเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของการแต่งกายในปัจจุบัน อย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการเลือกผ้า ลวดลาย และการเก็บรักษา จึงเป็นสิ่งที่ควรจะทำความเข้าใจ โดยเฉพาะกับนักศึกษาที่กำลังก้าวเข้าสู่อาชีพการงาน ซึ่งจำเป็นต้องสัมผัสและใช้งาน "เนคไท"
.........เนคไทลายขวาง เป็นเนคไทที่เหมาะสมกับชุดทำงานมากที่สุด นอกจากนั้นก็อาจจะใช้แบบลายพื้นเรียบ แต่เน้นสีสันตามยุคสมัย เช่น สี Millenium เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีลายจุด, ลายหมากรุกหรือลายสก็อต, ลายกราฟิกต่างๆ
.........เนื้อผ้าของเนคไทที่ดี คือเป็นผ้าขนสัตว์ละเอียด ผ้าลินิน หรือผ้าไหมอิตาลี เพราะจะทำให้ตัวเนคไทคงที่ ไม่เบี้ยวหรือรุ่ยเป็นริ้ว ผูกได้ง่ายกระชับ
ความกว้างของเนคไท ขึ้นอยู่กับยุคสมัย แต่ความยาวมีหลักสากลคือ อยู่ระดับกึ่งกลางของหัวเข็มขัด

การดูแลรักษา

  • อย่าใช้เนคไทเส้นเดิมซ้ำกัน 2 วัน จะทำให้รูปทรงเสียได้ง่าย
  • ควรดึงปมเนคไทออกทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จ และควรสะบัดเพื่อคลายรอยยับ
  • ถ้าในห้องน้ำมีน้ำอุ่น เวลาอาบน้ำให้เอาเนคไทแขวนไว้ในห้องน้ำ เพื่อรับไอของน้ำอุ่น จะช่วยให้เนคไทดูมัน และเรียบ
  • เนคไทที่เป็นพรมถัด ควรม้วนเก็บ
  • ถ้าจำเป็นต้องรีดเนคไท ควรตัดกระดาษแข็งขนาดเท่าเนคไท สอดเข้าไปในแกนกลาง แล้วหาผ้าบางๆ รองระหว่างเนคไท กับเตารีด จากนั้นจึงใช้เตารีดรีดเบาๆ เร็วๆ

การเลือกเนคไท

ลายขวาง

..........เหมาะกับนักธุรกิจ แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไปแล้ว เพราะให้ ความรู้สึกเรียบร้อย และเป็นการเป็นงานดี
ลายลูกน้ำหรือดอกจิก

..........ขนาดของลายจะเล็ก รูปแบบมีทั้งวงกลม วงรี และดอกจิก บางครั้งมีพื้นแบคกราวด์สีขรึม เหมาะกับงานกลางคืนมากกว่ากลางวัน
ลายจุด

..........ไม่ว่าจะจุดเล็กหรือจุดใหญ่ก็เหมาะกับคนช่างแต่งตัว ชอบความคลาสสิค และความเรียบง่าย
ลายหมากรุกหรือลายสก๊อต

..........ลายที่มีแบบฟอร์มชัดเจนกับรูปทรงสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก ใช้กับงานในเป็นกันเอง แต่ไม่ควรแม็ทช์กับสูทลายเส้น และทำให้ลายตาไปทั้งตัว
ลายกราฟฟิคหรือเรขาคณิต

..........เด่นที่ลวดลาย และสีสันที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นลายดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้ แอ็บสแตร็คท์ เหมาะกับหนุ่มที่มีความมั่นใจในตัวเอง และผู้นิยมความทันสมัย

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน

.......ด้านสื่อการเรียนการสอน ได้มีนักวิชาการหลายคนได้ให้ความหมายไวหลากหลาย ตัวอย่างเช่น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูหรือผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นต้น ส่วนประเภทของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล ได้จำแนกตามประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม ไปสู่นามธรรม ซึ่งมีทั้งหมด 10 ขั้น คือ
...........-วจนสัญลักษณ์
...........-ทัศนสัญลักษณ์
...........-ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ
...........-ภาพยนตร์
...........-โทรทัศนศึกษา
...........-นิทรรศการ
...........-การศึกษานอกสถานที่
...........-การสาธิต
...........-ประสบการณ์นาฎการ
...........-ประสบการณ์จำลอง ประสบการณ์ตรงและมีความหมาย

........1.1
ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน
...........ความหมาย
...........สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุ สิ่งของที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือ มนุษย์สร้างขึ้นมา รวมทั้งวิธีการและกิจกรรมการสอนรูปแบบ
ต่าง ๆ
........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
..........คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน


................1.2.1 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ


................1.2.2 ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้มากขึ้น และใช้เวลาน้อยลง


................1.2.3 ช่วยให้ผู้เรียน มีความสนใจในการเรียน และมีส่วนร่วมในการเรียนอย่าง กระฉับ กระเฉง


................1.2.4 ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ มั่นใจ และจดจำได้นาน


................1.2.5 ช่วยให้เอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ได้ เช่น
......................- ทำสิ่งที่ซ้ำได้ง่ายขึ้น
......................- ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรมมากขึ้น
......................- ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
......................- ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้ดูเร็วขึ้น
......................- ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กลงเหมาะแก่การศึกษา
......................- ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
......................- นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มาศึกษาในปัจจุบันได้
......................- นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้
ประเภทสื่อการเรียนการสอน
..........สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ
...............1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัว หนังสือที่เป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึก รายงาน ฯลฯ
...............2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
...............3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่
......................3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ไปสู่บุคคลอื่น เช่น บุคลากรในท้องถิ่น แพทย์ ตำรวจ นักธุรกิจ เป็นต้น
......................3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน เช่น พืชผักผลไม้ ปรากฏการณ์ ห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
......................3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรม หรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์และ การประยุกต์ความรู้ของผู้เรียน เช่น บทบาทสมมติ การสาธิต การจัดนิทรรศการ การทำโครงงาน เกม เพลง เป็นต้น
.....................3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้ เช่น หุ่มจำลอง แผนภูมิ แผนที่ ตาราง สถิติ รวมถึงสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ เครื่องมือช่าง เป็นต้น

........1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน

...........หลักการเลือกสื่อการสอน ในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา เช่น
.................1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
.................2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุดช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
.................3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
.................4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
.................5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
.................6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองต้องคุ้มกับเวลาและการลงทุน
..........นอกจากนี้แล้วการจะเลือกสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความสามารถและทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
.................1. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน
.................2. จุดมุ่งหมายในการนำสื่อมาใช้ เช่น
........................- ประกอบหรือร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
........................- ใช้นำเข้าสู่บทเรียน
........................- ใช้ในการประกอบคำอธิบาย
........................- ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้เรียนหรือ
........................- ใช้เพื่อสรุปบทเรียน
.................3. ต้องเข้าใจลักษณะของเฉพาะของสื่อแต่ละชนิดว่าสามารถเร้าความสนใจ และให้ความหมายต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่นักเรียนได้อย่างไรบ้าง เช่น
........................- หนังสือเรียนและสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานและอ้างอิง
........................- ของจริงและของจำลอง ใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
........................- แผนภูมิ แผนภาพและแผนสถิติ ใช้เพื่อต้องการเน้นหรือเพื่อแสดงให้เห็นส่วนประกอบหรือเปรียบเทียบข้อมูล
........................- สไลด์ ใช้เพื่อเสนอภาพนิ่งขนาดใหญ่ให้ผู้เรียนเห็นทั้งชั้นหรือใช้เพื่อการเรียนรายบุคคลก็ได้
.................4. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งของสื่อการเรียนการสอนทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา


หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
............จิตวิทยากับธรรมชาติ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้

........2.1 จิตวิทยาการรับรู้

............การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้
........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้

...........จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียน

........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ

...........จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental )เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา

หน่วยที่ 3 การสื่อสาร

.............การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส

........3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

.............หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี อาจเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าอินเตอร์เน็ตก็ได้
........องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
..............1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
..............2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
..............3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (dia)
..............4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
..............5. ความเข้าใจและการตอบสนอง


........3.2 รูปแบบของการสื่อสาร

...........การสื่อสารทางเดียว (Oneway Communication) เป็นการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองทันทีกับผู้ส่งการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ทันทีโดยที่ผู้ส่งหรือผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจจะอยู่คนละ

........3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร

...........การสื่อสารโดยทั่วไปจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือผู้ส่งหรือผู้สื่อ เนื้อหา เรื่องราว และกระบวนการสื่อสาร ผู้รับความมุ่งหมายของการสื่อสารคือ การที่ผู้รับยอมรับสารที่ผู้ส่ง ส่งไปยังผู้รับ ถ้าผู้รับเข้าใจความหมายของสาร ที่ผู้ส่งขอให้ผู้รับปฏิบัติ แต่ผู้รับไม่ปฏิบัติตาม ความสำเร็จตามความมุ่งหมายของการสื่อสารนั้นก็ไม่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้รับตอบสนองต่อสารที่ผู้ส่งส่งไปยังผู้รับ และปฏิบัติตามความเหมาะสม ความมุ่งหมาย ของการสื่อสารนั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็ว

........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน

............รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า S.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี

หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน

หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก

........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก

...........การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจ

...........ประเภทของสื่อกราฟิก
.................1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
.................2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
.................3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น


........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน

..........การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน จุดประสงค์ของการเรียนรู้
.................1.เพื่อให้รู้ถึงความหมายของสีและการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
.................2.เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
.................3.เพื่ีอให้รู้ถึงแนวทางในการเลือกใช้ในการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
.................4.เพื่อให้รู้ถึงหลักการพิจารณาในการเลือกใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์

........5.3 การเขียนภาพการ์ตูน

.............การเขียนภาพการ์ตูนสำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียน

........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง

....การประดิษฐ์ตัวอักษร
........การผลิตสื่อจะขาดเสียมิได้เลยคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร ไม่ว่าจะใช้ประกอบในการจัดทำบัตรคำ ป้ายนิเทศ ป้ายโฆษณา การเขียนเพื่อประกอบเป็นคำบรรยายต่างๆ ถือได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับครูธุรกิจ การประดิษฐ์ตัวอักษรอย่างเหมาะสมจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ทั้งนี้ตัวอักษรที่ประดิษฐ์ต้องมีขนาดพอเหมาะกับระยะในการเรียนรู้ ชัดเจน อ่านง่าย
หลักในการประดิษฐ์ตัวอักษร
................1. การเลือกแบบ หรือลักษณะของตัวอักษรที่จะเขียน หัวเรื่อง หรือใจความสำคัญควรจะมีการเน้นรูปแบบ ขนาดที่แตกต่างจากข้อความธรรมดา
................2. ขนาดของตัวอักษร ควรสัมพันธ์กับระยะความห่างจากตัวอักษร เช่น ผู้อ่านอยู่ห่าง 4.8 เมตร ตัวอักษรควรจะมีขนาด 1.2 เซนติเมตร
................3. ช่องไฟ ต้องคำนึงถึงช่องไฟ เพื่อความสวยงาม ดูเป็นระเบียบ อาจใช้การประมาณด้วยสายตา หรือถือหลักช่องไฟระหว่างตัวอักษรเป็น 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ส่วนของตัวอักษร ทั้งนี้ก่อนที่จะประดิษฐ์ตัวอักษร ควรนับจำนวนตัวอักษรเสียก่อน จากนั้นก็หาจุดศูนย์กลาง แล้วจึงลงมือร่างแบบ
.........การประดิษฐ์ตัวอักษรแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
.................1. การประดิษฐ์อักษรด้วยมือ เช่น ปากกา ดินสอน ปากกาสปีดบอล พู่กัน ชอล์ก ปากกาเมจิ เป็นต้น
.................2. การประดิษฐ์อักษรด้วยเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ ตัวอักษรแบบฉลุ ตัวอักษรแบบฝน เป็นต้น


หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา

..........แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง

........6.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา

............หมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย

........6.2 หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา

............ตัวอย่างการเลือกสื่อการสอนที่พบเห็นได้เสมอ เช่นครูสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับจำนวน การบวก การลบ และต้องการวัสดุเป็นชิ้น ๆ ก้อน ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือนับจำนวน แทนที่ครูจะนึกถึงก้อนดิน หิน หรือวัสดุอื่นอีกมาก ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่น มาให้นักเรียนนับ แต่ครูกลับนึกถึงก้อนแม่เหล็กเป็นอันดับแรก และพยายามเรียกร้องให้มีการจัดซื้อกระดานแม่เหล็กมาใช้สอนนับจำนวน กรณีเช่นนี้เราได้นับจำนวนก้อนหินดูจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการนับชิ้นส่วนบนกระดานแม่เหล็กเสียอีก ถ้าก้อนหินหาได้ง่ายนักเรียนทุกคนสามารถหามาได้ง่าย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็ม

........6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ

........6.4 การประมินสื่อการสอนราคาเยา

............การประเมินสื่อการสอนการประเมินการใช้สื่อการสอนมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
...................1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ
...................2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ
...................3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้

หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
............การผลิตสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ

........7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

............CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

........7.2 การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน

............การจัดตั้งสมาคม APEC เพื่อการศึุกษาทางอินเตอร์เนตตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรู้้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ เราขาดไม่ได้ สถาบันการศึกษาและครูมีบทบาทมากขึ้นเพราะต้องเตรียมการเรียนการสอนเพื่อส่งนักเรียนให้เข้าทำงาน ในสังคมใหม่ สมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตจัดทำไว้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของนักเรียน และครูเมื่อต้นปี 2001 มูลนิธิการศึกษา APEC รับเสนอโครงการทำกิจกการที่จะทำให้ลดความต่างระดับการศึกษา เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและดิจิตอล ทั้งนี้เพื่อมูลนิธิการศึกษา APEC จะสนับสนุนทางด้านงบประมาณให้ ทั้งหมด 79 สถาบันเสนอโคงการมา และในที่สุด 4 สถาบันได้รับการคัดเลือกเป็นสถาบันที่จะได้รับงบประมาณมูลค่า 60 ล้านดอลล่า สหรัฐ แต่เนื่องจากโครงการของสถาบันดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันมากมูลนิธิการศึกษา APEC จึงเสนอให้สถาบัน ดังกล่าวจัดเป็นสมาคม (consortium) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำกิจการ



หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

............การพิมพ์ เป็นการสำเนาหรือจำลองต้นฉบับลงบนวัตถุที่มีพื้นผิวเรียบหรือค่อยข้างขรุขระเพียงเล็กน้อย อาจจะแบนรายหรือโค้งนูน ให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดโดยคำนึงถึงปริมาณในการผลิตจำนวนมาก สิ่งที่นำมาสำเนาอาจเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ สัญลักษณ์ต่าง ๆ วัตถุที่นำมารองรับอาจเป็นวัตถุผิวเรียบ เช่นกระดาษแผ่นไม้กระดานหรืออาจมีประเภทผิวโค้ง นูนหรือขรุขระก็ได้

........8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์


............หมายถึง วัสดุตีพิมพ์(Printed Materials) เป็นวัสดุที่พิมพ์ด้วยกระดาษหรือวัสดุแผ่นเรียบ มีหลายรูปแบบ เช่น หนังสือวารสาร นิตยสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์แผ่นพับ แผ่นปลิว เป็นต้น

...................คุณค่าของสื่อสิ่งพิมพ์
.........................1. ใช้ประกอบคำบรรยายในการสอน
.........................2. ช่วยเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาในรูปแบบเดียวกัน
.........................3. ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการ
.........................4. เป็นสื่อพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน
.........................5. ใช้เป็นสื่อเพื่อการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์

........8.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์

......สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

..............- หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงเนื้อหาวิชาการในศาสตร์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจความหมาย ด้วยความรู้ที่เป็นจริง จึงเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นความรู้อย่างถูกต้อง

..............- หนังสือบันเทิงคดี เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้เรื่องราวสมมติ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับควา เพลิดเพลิน สนุกสนาน มักมีขนาดเล็ก เรียกว่า หนังสือฉบับกระเป๋า หรือ Pocket Book ได้ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

...............- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอเรื่องราว ข่าวสารภาพและความคิดเห็น ในลักษณะของแผ่นพิมพ์ แผ่นใหญ่ ที่ใช้วิธีการพับรวมกัน ซึ่งสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้ ได้พิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งลักษณะ หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์ และรายเดือน

...............- วารสาร, นิตยสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นโดยนำเสนอสาระ ข่าว ความบันเทิง ที่มีรูปแบบการนำเสนอ ที่โดดเด่น สะดุดตา และสร้างความสนใจให้กับผู้อ่าน ทั้งนี้การผลิตนั้น มีการ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ที่แน่นอน ทั้งลักษณะวารสาร, นิตยสารรายปักษ์ (15 วัน) และ รายเดือน

...............- จุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นแบบไม่มุ่งหวังผลกำไร เป็นแบบให้เปล่าโดยให้ผู้อ่านได้ศึกษาหาความรู้ มีกำหนดการออกเผยแพร่เป็นครั้ง ๆ หรือลำดับต่าง ๆ ในวาระพิเศษ

...............- สิ่งพิมพ์โฆษณา

.............. -โบร์ชัวร์ (Brochure) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นสมุดเล่มเล็ก ๆ เย็บติดกันเป็นเล่มจำนวน 8 หน้าเป็น อย่างน้อย มีปกหน้าและปกหลัง ซึ่งในการแสดงเนื้อหาจะเกี่ยวกับโฆษณาสินค้า

..............- ใบปลิว (Leaflet, Handbill) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ใบเดียว ที่เน้นการประกาศหรือโฆษณา มักมีขนาด A4 เพื่อง่ายในการแจกจ่าย ลักษณะการแสดงเนื้อหาเป็นข้อความที่ผู้อ่าน อ่านแล้วเข้าใจง่าย

..............- แผ่นพับ (Folder) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตโดยเน้นการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหาที่นำเสนอนั้นเป็นเนื้อหา ที่สรุปใจความสำคัญ ลักษณะมีการพับเป็นรูปเล่มต่าง ๆ

.............- ใบปิด (Poster) เป็นสื่อสิ่งพิมพ์โฆษณา โดยใช้ปิดตามสถานที่ต่าง ๆ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ซึ่งเน้นการนำเสนออย่างโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ

.............- สิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์การค้าต่าง ๆ แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบขวด หรือ กระป๋องผลิตภัณฑ์การค้า สิ่งพิมพ์รอง ได้แก่ สิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุ หรือลัง
........8.3 ระบบการพิมพ์


........8.4 การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน



*-* *-* สิริวิมล รายงาน *-* *-*

สิ่งที่ผู้ชายอยากได้ในชีวิต

สิ่งที่ผู้ชายอยากได้ในชีวิต
1. มีผู้หญิงสักคนที่คอยดูแลบ้าน ทำอาหาร ทำความสะอาดและมีงานทำ
2. มีผู้หญิงสักคนที่ทำให้เขาหัวเราะได้
3. มีผู้หญิงสักคนที่เขาไว้ใจได้และไม่โกหก
4. มีผู้หญิงสักคนที่ยอดเยื่ยมในเรื่องบนเตียงและอยากอยู่กับเขาเสมอ

5. ผู้หญิงทั้ง 4 คนนี้ต้องไม่รู้จักกันเด็จขาด อิอิ*-*
*-* *-* *-* *-* *-* *-* *-* *-* *-* *-* *-* *-* *-*

บทกลอนสารภัญญะ

.............................รำลึกพระคุณแม่
...........บัดนี้จะได้กล่าว................ถึงเรื่องราวคุณมารดา
....สายเลือดยังตรึงตรา...............ค่านมยังตรึงใจ
.....มารดาให้กำเนิด.....................พระประเสริฐกว่าสิ่งใด
.....เก้าเดือนอยู่ในกาย.................แม่เหนื่อยยากเป็นหนักหนา
.....ไปมาต้องระวัง.......................จะนอนนั่งเจียมกายา
.....ถนอมยอดชีวา.......................ยิ่งชีวิตดวงใจแม่
.....
ยามคลอดเจ็บปวดกาย..........พลันก็คลายเพราะเสียงอุแว้
.....เกิดเป็นความสุขแท้...............ดวงใจแม่สุขเปรมปรีด์
.....กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกยา.........ด้วยเมตตาและปราณี
.....แมลงวันและแมลงหวี่........... ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตลอม
.....เจ็บป่วยแม่ดูแล.....................ยามนอนแม่ขับเห่กล่อม
.....งานหนักแม่ก็ยอม.................เพื่อลูกรักสุขเจริญ
.....ลูกรักจักทำดี........................ให้เป็นที่สรรเสริญ
......ความชั่วลูกจะเมิน...............จะประกอบแต่กรรมดี
......แม่จ๋าลูกสัญญา...................เทิดบูชาชนนี
......กตัญญูกตเวที......................เป็นมิ่งขวัญร่มโพธิ์ไทร
......แคล้วคลาดจากผองภัย.......ประสบชัยสวัสดี
...................แต่งโดย อาจารย์จำนง โฮ้หนู
..........โรงเรียนน้ำโสมพิทยาคม จังหวัดอุดรธานี

เพื่อนกัน คอมพิวเตอร์ศึกษา 48 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง